ภายใต้กระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมบริโภคนิยมและวัตถุนิยมตลอดจนวิถีการดำเนินชีวิตที่มีความซับซ้อนมากขึ้นผนวกกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพเศรษฐกิจ
สังคมและสิ่งแวดล้อมและส่งผลต่อสุขภาพของบุคคล ครอบครัวและชุมชน
กระบวนการในการดูแลรักษาสุขภาพของคนเราจึงมีความสำคัญยิ่งในยุคของการเกิดโรคที่เกิดจากพฤติกรรมของปัจเจคบุคคล
สิ่งสำคัญในการดูแลสุขภาพของยุคนี้คือการเพิ่มความสามารถของบุคคลให้มีศักยภาพเพื่อการดำรงคงอยู่
ของสุขภาวะ ที่จะต้องมีการสร้างและส่งเสริมให้ดีขึ้น ตลอดจนการการควบคุมปัจจัย
และสิ่งแวดล้อมต่างๆเพื่อให้บุคคลมีสุขภาพดี กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ “การส่งเสริมสุขภาพ” นั่นเอง
การส่งเสริมสุขภาพเป็นหน้าที่ของทุกบุคคล ทุกอาชีพ
และครอบคลุมถึงทุกกิจกรรมที่สามารถกระทำเพื่อป้องกันโรค ปรับปรุงภาวะสุขภาพ
และเสริมสร้างความผาสุขในชีวิต เป้าหมายของการส่งเสริมสุขภาพ ก็คือ
การเสริมสร้างให้เกิดความสมดุลของร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ (ปัญญา)
ของแต่ละบุคคลไปพร้อมๆ กับการป้องกันความเสื่อมถอยของภาวะสุขภาพหรืออีกนัยหนึ่งคือการยกระดับความมีสุขภาพดี
ในบุคคล ครอบครัวและชุมชน
โดยการลดหรือขจัดความเสี่ยงหรือภยันตรายที่อาจเกิดขึ้นต่อบุคคล ครอบครัว และชุมชน
ผู้นำชุมชนท้องถิ่นนับว่าเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญยิ่งในการผลักดันการส่งเสริมสุขภาพให้เกิดขึ้นในชุมชนได้
โดยผู้นำชุมชนสามารถดำเนินการในลักษณะต่างๆ เช่น การรณรงค์ส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันการเกิดโรค
ได้แก่ การลดโอกาสเสี่ยง
หรือความเสี่ยงของการเกิดโรคโดยการจัดการกับสิ่งคุกคามต่อสุขภาพในชุมชน
การให้การศึกษา และข้อมูลข่าวสารสุขภาพแก่ประชาชน การกำหนดนโยบายท้องถิ่น เพื่อก่อให้เกิดการส่งเสริมสุขภาพต่อประชาชน
เช่น นโยบายเกี่ยวกับการออกกำลังกาย การสันทนาการเพื่อผ่อนคลายความเครียด
การจัดสภาพแวดล้อมชุมชนให้เอื้อต่อสุขภาพ เช่น การจัดสถานที่สาธารณะที่ปลอดภัย
สะอาด ร่มรื่น น่าพึงพอใจ ปราศจากมลภาวะ ตลอดจนมีมาตรการเพื่อช่วยลดพฤติกรรมที่บั่นทอนสุขภาพ
เช่น จัดเขตปลอดบุหรี่ ชุมชนปลอดเหล้า จำกัดความเร็วของยวดยาน
การออกกฎห้ามทิ้งสิ่งเน่าเสีย มีสถานที่หรือกำหนดวันฟังธรรมะ
การส่งเสริมความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนในการทำกิจกรรมเพื่อสุขภาพโดยอาศัยศักยภาพของบุคลในชุมชนเอง
ซึ่งผลที่ได้จากการดำเนินกิจกรรมดังกล่าว
จักสามารถทำให้เกิดชุมชนสุขภาพดี ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในชุมชน ต่อไป
การส่งเสริมสุขภาพเป็นหน้าที่ของทุกบุคคล ทุกอาชีพ และครอบคลุมถึงทุกกิจกรรมที่สามารถกระทำเพื่อป้องกันโรค ปรับปรุงภาวะสุขภาพ และเสริมสร้างความผาสุขในชีวิต เป้าหมายของการส่งเสริมสุขภาพ ก็คือ การเสริมสร้างให้เกิดความสมดุลของร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ (ปัญญา) ของแต่ละบุคคลไปพร้อมๆ กับการป้องกันความเสื่อมถอยของภาวะสุขภาพหรืออีกนัยหนึ่งคือการยกระดับความมีสุขภาพดี ในบุคคล ครอบครัวและชุมชน โดยการลดหรือขจัดความเสี่ยงหรือภยันตรายที่อาจเกิดขึ้นต่อบุคคล ครอบครัว และชุมชน
ผู้นำชุมชนท้องถิ่นนับว่าเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญยิ่งในการผลักดันการส่งเสริมสุขภาพให้เกิดขึ้นในชุมชนได้ โดยผู้นำชุมชนสามารถดำเนินการในลักษณะต่างๆ เช่น การรณรงค์ส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันการเกิดโรค ได้แก่ การลดโอกาสเสี่ยง หรือความเสี่ยงของการเกิดโรคโดยการจัดการกับสิ่งคุกคามต่อสุขภาพในชุมชน การให้การศึกษา และข้อมูลข่าวสารสุขภาพแก่ประชาชน การกำหนดนโยบายท้องถิ่น เพื่อก่อให้เกิดการส่งเสริมสุขภาพต่อประชาชน เช่น นโยบายเกี่ยวกับการออกกำลังกาย การสันทนาการเพื่อผ่อนคลายความเครียด การจัดสภาพแวดล้อมชุมชนให้เอื้อต่อสุขภาพ เช่น การจัดสถานที่สาธารณะที่ปลอดภัย สะอาด ร่มรื่น น่าพึงพอใจ ปราศจากมลภาวะ ตลอดจนมีมาตรการเพื่อช่วยลดพฤติกรรมที่บั่นทอนสุขภาพ เช่น จัดเขตปลอดบุหรี่ ชุมชนปลอดเหล้า จำกัดความเร็วของยวดยาน การออกกฎห้ามทิ้งสิ่งเน่าเสีย มีสถานที่หรือกำหนดวันฟังธรรมะ การส่งเสริมความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนในการทำกิจกรรมเพื่อสุขภาพโดยอาศัยศักยภาพของบุคลในชุมชนเอง ซึ่งผลที่ได้จากการดำเนินกิจกรรมดังกล่าว จักสามารถทำให้เกิดชุมชนสุขภาพดี ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในชุมชน ต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น