"สุขภาพตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง"

การรักษาคนไข้ คงไม่เน้นที่การ “ รักษาโรค” เท่านั้น แต่จะเน้นการ” รักษาคน 
สิ่งสำคัญนอกเหนือไปจากการ “ รักษาโรค” และ “ รักษาคน” ก็คือ 
ทำอย่างไร ให้คนไข้ที่มาพบหมอรู้จัก ” รักษาสุขภาพ 
ทำให้คนไข้มีความสุขหรือมีสุขภาพทีดีขึ้น ทำให้คนไข้อยู่กับสุขภาพหรือสุขภาวะทีดีมีความสุข 
โรคมากมาย เมื่อเป็นแล้วรักษาไม่หาย แต่คนไข้สามารถอยู่กับโรคอย่างมีความสุข มีสุขภาพที่ดีได้ 
แท้จริงแล้วสุขภาพมิได้หมายถึง สุขภาพทางกายเท่านั้นสุขภาพที่ดี หมายถึง 
สุขภาวะที่สุขสมบูรณ์ในทุกมิติของสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย จิตใจ สังคม และคุณธรรม 

การทำให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี 
สามารถทำได้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  โดยการ
โด
          - ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ปฏิบัติตนให้มีสุขภาพที่ดี มีความรักตนเอง สังคม อยากมีสุขภาพสุขภาวะทีดี 
    - ส่งเสริม สนับสนุน สร้างจิตสำนึกด้านสุขภาพตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงให้เกิดกับประชาชนและองค์กร
             - ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาระบบสุขภาพไปสู่การพึ่งตนเองตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง โดยผลักดันให้เป็น                 นโยบายและยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพของประเทศ รวมถึงในองค์กรต่างๆ ทุกระดับและภาคประชาชน


           
     การพัฒนาสุขภาพตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงหมายถึง การพัฒนาสุขภาพหรือสุขภาวะที่สมบูรณ์ในทุกมิติ
      ของสุขภาพกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ในระดับบุคคลหรือองค์กร บนพื้นฐานการพึ่งตนเองเป็นหลัก 
           อย่างทางสายกลางพอประมาณ มีเหตุผล ด้วยหลักความรู้ รอบรู้ ระวัง และมีคุณธรรม เป็นพื้นฐาของระบบ
           มีความซื่อสัตย์ เมตตา จิตอาสา เสียสละ แบ่งปันตามความเหมาะสมของชีวิต เศรษฐกิจ และสังคมที่เป็นอยู่
           เพื่อความสมดุล มั่นคง และยั่งยืน





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น